Item 035 - ซองจดหมายจาก อาจารย์ประสิทธิ์ ถึง อาจารย์ลัดดา

Open original Digital object

Identity area

Reference code

TH SLPBL LTR.02.035

Title

ซองจดหมายจาก อาจารย์ประสิทธิ์ ถึง อาจารย์ลัดดา

Date(s)

Level of description

Item

Extent and medium

Context area

Name of creator

(1912-1999)

Biographical history

ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2455 ที่บ้านหน้าวังบูรพาภิรมย์ (ริมคลองโอ่งอ่าง) กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 6 ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จางวางมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระเอกนักระนาดเอกในภาพยนต์เรื่อง โหมโรง ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักระนาดเอกที่เก่งกาจ และอาจารย์ผู้ประพันธ์ดนตรีไทยผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ และถือเป็นปูชนียบุคคล ทางศิลปดนตรีไทยของชาติไทย และนางโชติ (หุราพันธุ์) ประดิษฐไพเราะ
ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง สมรสกับ นางสาวลัดดา สารตายน มีบุตรชาย 1 คน หญิง 1 คน คือ รศ.ดร.กุลธร ศิลปบรรเลง และ นางวัลย์ลดา (ศิลปบรรเลง) หงส์ทอง

ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์จนถึงชั้นมัธยมปีที่ 2 แล้วได้ย้ายไปเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 3 ที่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) จนจบหลักสูตรมัธยมศึกษา และได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ช่วงหนึ่ง พร้อมกันนั้นได้ศึกษาเพลงไทยและเล่นเครื่องดนตรีไทยทุกชนิดของบิดาจนมีความเชี่ยวชาญมาตามลำดับ หลังจากเรียนรู้ด้านดนตรีไทยจากท่านบิดาจนเจนจบ ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้รับการสนับสนุนจากบิดาให้เข้าเรียนดนตรีสากลในตอนกลางคืนที่โรงเรียนวิทยาสากลซึ่งตั้งอยู่ที่สะพานมอญ ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนดนตรีเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย อำนวยการสอนโดยพระเจนดุริยางค์ ณ ที่นี้ ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น จากนั้นได้ไปเรียนการบรรเลงเปียโนกับครูนารถ ถาวรบุตร

พ.ศ.2477 ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้ติดตามคณะนาฎศิลป์และดนตรีไทยของโรงเรียนนาฎดุริยางค์ กรมศิปากรไปแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ในการเดินทางครั้งนั้น ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้ศึกษาต่อด้านการประพันธ์เพลง และการกำกับวงของดนตรีสากลตะวันตก ที่สถาบันอิมพีเรียล อคาเดมี ออฟ มิวสิค มหาวิทยาลัย เกได (Imperial Academy of Music, Geidai University) ณ กรุงโตเกียว เป็นเวลา 4 ปี จนสำเร็จปริญญาตรีทางดนตรี ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จได้รับปริญญาตรีทางด้านประพันธ์ดนตรี (Music Composition) และเป็นศิษย์เอกของอาจารย์ชาวเยอรมัน คือ ดร.เคลาส์ ปริงส์ไฮม์ (Dr. Klaus Pringsheim) ผู้เป็นศิษย์ของคีตกวีเอกของโลกถึง 2 ท่าน คือ กุสต๊าฟ มาห์เล่อร์ (Gustav Mahler) และ ริชาร์ด เสตร๊าส์ (Richard Strauss)

เมื่อกลับมาประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2481 ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้เข้ารับราชการที่กองดุริยางค์สากลกรมศิลปากร ซึ่งในช่วงที่รับราชการได้เกิดสงครามเอเชียบูรพาขึ้น กองทัพบกได้เชิญประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงไปประจำอยู่กองทัพไทย โดยทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาญี่ปุ่นเป็นเวลา 4 ปี

ภายหลังสงครามสงบ ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้ลาออกจากราชการที่กรมศิลปกรและประกอบอาชีพด้วยการเป็นอาจารย์พิเศษสอนดนตรีที่โรงเรียนการเรือนพระนคร (ปัจจุบันคือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต) โรงเรียนพาณิชย์วิทยาลัย และผู้ที่มีความสนใจส่วนตัวที่ต้องการศึกษา การเล่นเครื่องดนตรีสากลต่างๆ

ช่วงหลังสงครามยังไม่มีภาพยนต์ต่างประเทศเข้ามาฉาย คนไทยในยุคนั้นนิยมดูละคร ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้รวมทุนกับญาติพี่น้องตั้งคณะละครเวที ชื่อ "คณะศิษย์เก่าศิลปากร " แสดงเรื่อง “ผกาวลี” ที่โรงละครเก่า กรมศิลปากรเป็นเรื่องแรก ละครเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากจนต้องแสดงอีกเป็นครั้งที่ 2 และในการแสดงครั้งหลังนี้ได้มีโอกาสแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และสมเด็จเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชฯ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8

การประพันธ์ดนตรีของประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง เป็นการประพันธ์ดนตรี ลักษณะ Classic ในแนว Romance ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของผลงานของท่าน ที่พอจะจำแนกได้ดังนี้

ดนตรีสำหรับวงซิมโฟนี

  • Siamese Suite ประกอบด้วย 4 Movements โดยที่ท่อนแรกให้ใช้ชื่อว่า Moon Over the Temple เป็นผลงานวิทยานิพนธ์ ประพันธ์ที่กรุงโตเกียว ส่วนท่อนสุดท้ายชื่อ At a Wedding in Bangkok’s China town นั้น เอาผลงานเพลงละครที่ประพันธ์ไว้มาขยายสำหรับเล่นด้วยวงซิมโฟนี งานประพันธ์ชิ้นนี้เกิดขึ้นเมื่อท่านอายุได้ 40 ต้น ๆ

  • Siang Tian Symphonic Poem (เสี่ยงเทียน) พร้อมการร้องประสานเสียงของหมู่นักร้องหญิง ผลงานประพันธ์นี้ถือเป็นการรังสรรค์ร่วมกันระหว่าง สองดุริยกวีผู้เป็นบิดา และบุตรเนื่องจาก ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้เลือกเพลงไทยเดิม คือ “ลาวเสี่ยงเทียน” ท่อนที่เป็นทางกลับซึ่ง หลวงประดิษฐไพเราะได้ประพันธ์ไว้ มาแต่งเติมเพิ่มขยายในแนวสากลตะวันตก ตามแบบแผนดนตรีซิมโฟนีที่นิยมกระทำกัน งานประพันธ์ชิ้นนี้สมบูรณ์เมื่ออายุได้ 77 ปี

  • Cherd Nai Overture (โหมโรงเพลงเชิดใน) จากโครงสร้างเพลง “เชิดใน” ของบิดา ได้นำมาประพันธ์ใหม่ตามแบบแผนเพลงโหมโรงของวงดนตรีซิมโฟนีตะวันตก โดยประพันธ์สกอร์ของเปียโนเสร็จเมื่ออายุ 86 ปีและป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจึงต้องให้ Mr. John Georgiadis ทำการเรียบเรียงเสียงประสานต่อจนจบสำหรับบรรเลงโดยวงซิมโฟนีขนาด 70 คน

  • Siamese Romances in D จากผลงานการประพันธ์เพลงละคร 3 ชิ้น ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และลูกศิษย์คนสุดท้ายที่สนิทสนมกันมาก (คุณอัปสร กูรมะโรหิต โดยพื้นฐานเป็นสถาปนิก) ได้นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในแนว Medley ที่น่าสนใจคือการที่นำเอาเพลงไทยเดิมของบิดาอีก 2 เพลง คือโลมเหนือ และ โลมพม่า มาประพันธ์ใหม่ในแนวสากลตะวันตกให้เป็นส่วนหนึ่งของ Medley รวมแล้วมี 5 เพลงสั้น ๆ เข้าด้วยกันในลักษณะของ Dramatic Suite for Orchestra

  • Soke Pama (โศกพม่า) บทประพันธ์เดิมของท่านบิดา ที่เคยมีผู้นำไปร้องในลักษณะเพลง “ลูกกรุง” แต่ประสิทธิ์ ได้ประพันธ์ในแนวสากลตะวันตกสำหรับวงซิมโฟนีอย่างถูกต้องตามแบบแผน ถ้าผู้มีอายุหน่อยและจำเพลงได้ จะเห็นความแตกต่างของแนวทางการประพันธ์ประเภท "ลูกกรุง" และการบรรเลงแบบวงซิมโฟนี อย่างชัดเจน

  • ดำเนินทราย (Damnern Shgh) with voice จากเพลงไทยเดิมของท่านบิดา ประสิทธ์และลูกศิษย์อัปสร ได้ร่วมกันเรียบเรียงขึ้นใหม่ สำหรับวงซิมโฟนี และมีการขับร้องด้วยเสียงโซปราโน

ดนตรีสำหรับ วง String Quartet มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้น ประกอบด้วยไวโอลิน 1 และ 2 วิโอล่า และเชลโล่ จัดอยู่ในประเภทเครื่องสายสำหรับวง Chamber music ได้แก่บทประพันธ์คือ

  • ดำเนินทราย (โดยใช้โครงสร้างดนตรีไทยเดิมของบิดา)
  • เสี่ยงเทียน (โดยใช้โครงสร้างดนตรีไทยเดิมของบิดา)

เพลงประกอบการแสดงละคร
หลวงประดิษฐไพเราะ ประสิทธิ์ ภริยา และญาติ ได้จัดตั้งคณะละครผกาวลีขึ้นเพื่อแสดงละครประกอบเพลง (ในลักษณะบรอดเวย์ที่อเมริกา หรือ เวสท์ เอ็นด์ที่อังกฤษ เช่นละครเพลงเรื่อง Phanthom of the Opera ของ Andrew Lloyd Weber และ Miss Saigon เป็นต้น) และเขียนบทเพลงสำหรับพระเอก, นางเอก, หรือตัวละครในเรื่องนั้น ๆ ขับร้องร่วมกับวงดนตรีสากลขนาดเล็ก ใช้เครื่องดนตรีประมาณ 14 ชิ้น การประพันธ์เพลงเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงอายุ 35-39 ปี


Prasidh Silapabanleng was born on July 10, 1912, as the sixth son of Luang Praditphairoh and Mrs. Chote (Huraphan) Prditphairoh. He was educated up to the Mathayom 8, a pre university class, of the old education system.

He studied Thai music (and played all the traditional Thai musical instruments) from his father, one of the most celebrated classical Thai music masters and composers, until he became and expert. Apart from Thai music, Prasidh was extremely interested in the western music. He gained his father’s support and was sent to Withayasakol, the first private music school in Thailand, with Pra Jen Duriyang as the director. He also took piano lesson with Nart Tavornbutr.

On the occasion that he accompanied the musical and dance troupe of the Fine Arts Department on the program of cultural exchange to Japan in 1934, he started his western music study at the Imperial Academy of Music,Geidai University, in Tokyo, for four years, majoring in music composition and conducting. He was the first Thai to have been graduated with Bachelor Degree in Music Composition from a foreign university. Pasidh was also a fond student of a German professor Dr. Klaus Pringsheim, who himself was a student of several world renowned composers including Gustav Mahler and Richard Strauss.

Prasidh Silapabanleng’s early compositions were mainly songs and musical pieces for various stage plays, performed by a western styled pit orchestra. His first major composition the “Siamese Suite”, a symphony in 4 movements, entered by Prasidh in response to the invitation of the Belgian’s international competition of music composition in 1954, was first performed at the Southeast Asian Music Conference in Manila by the Philippines National Symphony Orchestra. It was performed for the Thai Audience in 1981.

At 77 years of age, he composed a Symphonic Poem called “Siang Tian” by rearranging and orchestrating compositions of his father, to be performed by a symphony orchestra with female chorus, a synthesis of Thai and Western music. The piece was lauded as a masterpiece both in Thai and and foreign countries. The Siang Tian was issued on CD in 1996, with Mr. John Georgiadis conducting the Bangkok Symphony Orchestra.

In June 1998 when Prasidh was almost 86 years old, at the request of the President of Assumption University (ABAC) of Bangkok, Prasidh composed two songs, also now on CD for the University. To honour the great King Bhumiphol of Thailand, Prasidh wrote a new composition in early 1999 called “Cherd Nai” based on the traditional Thai music of his father. The Cherd Nai was composed to be performed as an Overture. The Cherd Nai and other compositions of Prasidh were issued on CD in 2004, with Mr. Terje Mikkelsen of Norway conducting the Latvian National Symphony Orchestra.

On December 11, 1998 Prasidh Silapabanleng was nominated and proclaimed the “National Artist (Composer)” by the National Committee for the Selection of National Artists under the Ministry of Education . Prasidh was granted a royal audience for the award presentation. A plaque of honour was given by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorm as his award of recognition.

To preserve his other compositions, a third album of Prasidh’s works called the “Sai Sumphun” was issued on CD in 2005 with Mr. Terje Mikkelsen of Norway conducting the Latvian National Symphony Orchestra. All the works of Prasidh recorded in 3 albums of CD have been sponsored by his son, Dr. Kulthorn Silapabanleng, with his last and fond pupil Apsorn Kurmarohita assisting in the preparation of scores and parts.

Prasidh Silapabanleng passed away on September 4, 1999 after suffering from bout of Pneumonia. He was 87 years old.

Archival history

Immediate source of acquisition or transfer

รวบรวมโดย ดร. กุลธร ศิลปบรรเลง (บุตรชาย อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง)

Content and structure area

Scope and content

จ่าหน้า คุณลัดดา สารตายน, Private 13

Appraisal, destruction and scheduling

Accruals

ไม่มีการเพิ่มขึ้นของเอกสาร

System of arrangement

Conditions governing access

เอกสารนี้เปิดให้เข้าถึงได้ทั่วไป

Conditions governing reproduction

ห้ามนำไปดัดแปลงหรือทำซ้ำเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์

Language of material

  • Thai

Script of material

Language and script notes

ลายมือ

Finding aids

Allied materials area

Existence and location of originals

Existence and location of copies

Related units of description

Related descriptions

Notes area

Alternative identifier(s)

Access points

Place access points

Genre access points

Level of detail

Archivist's note

จัดทำทะเบียนโดย อาจารย์ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง และทีมงานจดหมายเหตุ

Digital object (Master) rights area

Digital object (Reference) rights area

Digital object (Thumbnail) rights area

Accession area