Showing 687 results

Archival description
งานประพันธ์ดนตรี
Print preview View:

466 results with digital objects Show results with digital objects

อัลบั้มเสี่ยงเทียน (Siang Tian Album)

ผลงานเพลงชุด เสี่ยงเทียน (Siang Tian) ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานประพันธ์ที่อนุรักษ์และสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อย่างวิจิตรปราณีตของดุริยกวีไทย ผู้เป็นบิดาและบุตร ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้เรียบเรียงเพลง “ลาวเสี่ยงเทียน” ท่อนดั้งเดิมของบิดา (หลวงประดิษฐไพเราะ) ครั้งแรกในลักษณะเพลงร้องและวงดนตรีสากลขนาดย่อมเพื่อใช้สำหรับละครเวที จากนั้นก็ได้ประพันธ์ในลักษณะของ String Quartet และเมื่ออายุได้ 77 ปี ก็นำมาประพันธ์ในแนว Symphonic Poem สำหรับวงซิมโฟนีขนาดกลาง พร้อมกับการร้องประสานเสียงหมู่ของกลุ่มโซปราโน และอัลโต เป็นครั้งแรกที่ได้มีการร้องเป็นภาษาไทย โดยมีการเอื้อนคำร้องลักษณะเดียวกับการร้องของเพลงไทยเดิมในผลงานประพันธ์ชิ้นนี้

เพลงอื่น ๆ ใน DISC เสี่ยงเทียน ได้แก่ Love Lament, Stars and Love, Shadow in the Water, Damnern Sigh, In the Middle of a Stream, Moment of Sunset และซิมโฟนีชิ้นแรกชื่อ Siamese Suite โดยท่อนแรกของซิมโฟนีชิ้นนี้ชื่อ Moon Over the Temple นั้น เป็นผลงานวิทยานิพนธ์ประกอบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ Geidai University ประเทศญี่ปุ่น

บทเพลงชุด เสี่ยงเทียนนี้ บรรเลงโดย วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ

อำนวยเพลงโดย Mr. John Georgiadis

บันทึกเสียงและผสมเสียงโดย Mr. Chris Craker

บันทึกเสียงที่ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

ขับร้องประสานเสียงโดย กลุ่มโซปราโน ประกอบด้วย ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ, กษณา รัชพันธุ, วันวิสาข์ อยู่ทอง และกลุ่มอัลโต ประกอบด้วย วารุณี บุญหรั่ง, ธนพร แวกประยูร, ปานทิพย์ ปัญจมะวัต

อำนวยการผลิตโดย ดร.กุลธร ศิลปบรรเลง (บุตรของอาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และหลานของหลวงประดิษฐไพเราะ)

ประสานงานโดย อรปรียา ศิลปบรรเลง และ ยศธร ศิลปบรรเลง

ขอขอบคุณ: อธิการบดีและคณะผู้บริหารระดับสูง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ,
มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ, คุณมธุสร วิสุทธกุล, คุณอัปสร กูรมะโรหิต, คุณเกษม สุวงศ์, คุณวัลย์ลดา หงส์ทอง

เพลง เสี่ยงเทียน (Siang Tian)

ดุริยนิพนธ์ชิ้นนี้เป็นทั้งงานอนุรักษ์และงานสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อย่างวิจิตรปราณีตของสองดุริยกวีไทยผู้เป็นบิดาและบุตร ท่านบิดา (หลวงประดิษฐไพเราะ) ได้ประพันธ์ขึ้นจากเพลงเก่าสองชั้นเป็นสามชั้นและชั้นเดียวจนครบลักษณะเถา อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้เรียบเรียงเพลงเสี่ยงเทียนครั้งแรกในลักษณะ String Quartet และหลังจากนั้น ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่สำหรับหมู่นักร้องโซปราโนและอัลโต ร่วมกับวงดุริยางค์ซิมโฟนี ผลคือ เป็นเพลงเสี่ยงเทียนที่มีความสง่างามประสานกับความอ่อนหวานซาบซึ้ง อันเป็นงานรังสรรค์ร่วมกันระหว่างบิดาและบุตร ฝากไว้เป็นสมบัติอีกชิ้นหนึ่งแก่ชาติไทยและชาวโลก

Siang Tian is the creative joint venture of father and son, this piece was first composed by Luang Praditpairoh in the traditional Thai style renowned for its graceful and romantic expression. The first significant rearrangement of the piece was completed by Luang's son, Prasidh Silapabanleng. Initially arranged for a string quartet based on his father's original composition, Prasidh took the work to greater proportions when he re-composed it to accommodate a full orchestra and female chorus. The splendidly romantic composition which sprang from this father­and-son effort gave Thailand (and the world) a stylistic work of art which is recognized as modern classic.

ไซมีสสวีท (Siamese Suite) เพลง Moon over the Temple

ไซมิสสวีทได้รับการประพันธ์ขึ้นในราว พ.ศ. 2497 และได้รับการแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 ในงานประชุม Southeast Asian Music Conference ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ บทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีประกอบด้วย 4 Movements ได้แก่ 1. Moon over the Temple 2. In the Grand Palace 3. Siamese Lament และ 4. In the Bangkok’s China Town

Completed in 1954, this composition was given its first performance by the National Symphony Orchestra of the Philippines one year after its completion. Performed at the Southeast Asian Music Conference in Manila, it is comprised of four short movements: Moon Over the Temple, In the Grand Palace, Siamese Lament, and In the Bangkok's China town.

ไซมีสสวีท (Siamese Suite) เพลง In the Grand Palace

ไซมิสสวีทได้รับการประพันธ์ขึ้นในราว พ.ศ. 2497 และได้รับการแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 ในงานประชุม Southeast Asian Music Conference ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ บทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีประกอบด้วย 4 Movements ได้แก่ 1. Moon over the Temple 2. In the Grand Palace 3. Siamese Lament และ 4. In the Bangkok’s China Town

Completed in 1954, this composition was given its first performance by the National Symphony Orchestra of the Philippines one year after its completion. Performed at the Southeast Asian Music Conference in Manila, it is comprised of four short movements: Moon Over the Temple, In the Grand Palace, Siamese Lament, and In the Bangkok's China town.

ไซมีสสวีท (Siamese Suite) เพลง Siamese Lament

ไซมิสสวีทได้รับการประพันธ์ขึ้นในราว พ.ศ. 2497 และได้รับการแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 ในงานประชุม Southeast Asian Music Conference ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ บทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีประกอบด้วย 4 Movements ได้แก่ 1. Moon over the Temple 2. In the Grand Palace 3. Siamese Lament และ 4. In the Bangkok’s China Town

Completed in 1954, this composition was given its first performance by the National Symphony Orchestra of the Philippines one year after its completion. Performed at the Southeast Asian Music Conference in Manila, it is comprised of four short movements: Moon Over the Temple, In the Grand Palace, Siamese Lament, and In the Bangkok's China town.

ไซมีสสวีท (Siamese Suite) เพลง In the Bangkok's China Town

ไซมิสสวีทได้รับการประพันธ์ขึ้นในราว พ.ศ. 2497 และได้รับการแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 ในงานประชุม Southeast Asian Music Conference ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ บทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีประกอบด้วย 4 Movements ได้แก่ 1. Moon over the Temple 2. In the Grand Palace 3. Siamese Lament และ 4. In the Bangkok’s China Town

Completed in 1954, this composition was given its first performance by the National Symphony Orchestra of the Philippines one year after its completion. Performed at the Southeast Asian Music Conference in Manila, it is comprised of four short movements: Moon Over the Temple, In the Grand Palace, Siamese Lament, and In the Bangkok's China town.

เพลง ดำเนินทราย (Damnern Sigh)

เพลงดำเนินทราย ประพันธ์ขึ้นจากเพลงไทยเดิมทางเปลี่ยนของท่านบิดา (หลวงประดิษฐไพเราะ) ในลักษณะ String Quartet และได้รับการดัดแปลงให้บรรเลงโดยใช้เครื่องสาย (Strings) ทั้งวงของดุริยางค์ซิมโฟนี

Damnern Sigh was originally written for string quartet. This work was Prasidh's orchestration of the traditional Thai version composed by his father, the famed Luang Praditpairoh. In subsequent compositions, it was performed by the entire string section of the Symphony orchestra which lent full-bodied sound to the piece.

เพลง ดวงดาวกับความรัก (Stars and Love)

เพลงดวงดาวกับความรัก เป็นส่วนหนึ่งของบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับบรรเลงในละครเรื่องต่างๆ เดิมเรียบเรียงเสียงประสานไว้สำหรับวงดุริยางค์เล็กขนาด 14 ชิ้น และได้รับการขยายและเรียบเรียงเสียงประสานใหม่สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีโดย Mr. John Georgiadis ผู้อำนวยเพลงของวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ

Stars and Love comprised from portions of songs originally written for several theatrical plays, these works were first arranged by Prasidh for a stage orchestra limmited to fourteen instruments. Seeking to enlarge the composition, Mr. John Georgiadis, musical director and principal conductor of the Bangkok Symphony Orchestra, has rearranged the works to allow performance by the symphony orchestra. This masterful treatment has allowed the various melodies of the individual pieces to be appreciated in a continuous thread of compositional ingenuity.

เพลง เงาในน้ำ (Shadow in the Water)

เพลงเงาในน้ำ เป็นส่วนหนึ่งของบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับบรรเลงในละครเรื่องต่างๆ เดิมเรียบเรียงเสียงประสานไว้สำหรับวงดุริยางค์เล็กขนาด 14 ชิ้น และได้รับการขยายและเรียบเรียงเสียงประสานใหม่สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีโดย Mr. John Georgiadis ผู้อำนวยเพลงของวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ

Shadow in the Water comprised from portions of songs originally written for several theatrical plays, these works were first arranged by Prasidh for a stage orchestra limmited to fourteen instruments. Seeking to enlarge the composition, Mr. John Georgiadis, musical director and principal conductor of the Bangkok Symphony Orchestra, has rearranged the works to allow performance by the symphony orchestra. This masterful treatment has allowed the various melodies of the individual pieces to be appreciated in a continuous thread of compositional ingenuity.

เพลง ความรักครวญหา (Love Lament)

เพลงความรักครวญหา เป็นส่วนหนึ่งของบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับบรรเลงในละครเรื่องต่างๆ เดิมเรียบเรียงเสียงประสานไว้สำหรับวงดุริยางค์เล็กขนาด 14 ชิ้น และได้รับการขยายและเรียบเรียงเสียงประสานใหม่สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีโดย Mr. John Georgiadis ผู้อำนวยเพลงของวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ

Love Lament comprised from portions of songs originally written for several theatrical plays, these works were first arranged by Prasidh for a stage orchestra limmited to fourteen instruments. Seeking to enlarge the composition, Mr. John Georgiadis, musical director and principal conductor of the Bangkok Symphony Orchestra, has rearranged the works to allow performance by the symphony orchestra. This masterful treatment has allowed the various melodies of the individual pieces to be appreciated in a continuous thread of compositional ingenuity.

เพลง กลางสายชล (In the Middle of a Stream)

เพลงกลางสายชล เป็นส่วนหนึ่งของบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับบรรเลงในละครเรื่องต่างๆ เดิมเรียบเรียงเสียงประสานไว้สำหรับวงดุริยางค์เล็กขนาด 14 ชิ้น และได้รับการขยายและเรียบเรียงเสียงประสานใหม่สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีโดย Mr. John Georgiadis ผู้อำนวยเพลงของวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ

In the Middle of a Stream comprised from portions of songs originally written for several theatrical plays, these works were first arranged by Prasidh for a stage orchestra limmited to fourteen instruments. Seeking to enlarge the composition, Mr. John Georgiadis, musical director and principal conductor of the Bangkok Symphony Orchestra, has rearranged the works to allow performance by the symphony orchestra. This masterful treatment has allowed the various melodies of the individual pieces to be appreciated in a continuous thread of compositional ingenuity.

เพลง ยามสิ้นแสงตะวัน (Moment of Sunset)

เพลงยามสิ้นแสงตะวัน เป็นส่วนหนึ่งของบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับบรรเลงในละครเรื่องต่างๆ เดิมเรียบเรียงเสียงประสานไว้สำหรับวงดุริยางค์เล็กขนาด 14 ชิ้น และได้รับการขยายและเรียบเรียงเสียงประสานใหม่สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีโดย Mr. John Georgiadis ผู้อำนวยเพลงของวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ

Moment of Sunset comprised from portions of songs originally written for several theatrical plays, these works were first arranged by Prasidh for a stage orchestra limmited to fourteen instruments. Seeking to enlarge the composition, Mr. John Georgiadis, musical director and principal conductor of the Bangkok Symphony Orchestra, has rearranged the works to allow performance by the symphony orchestra. This masterful treatment has allowed the various melodies of the individual pieces to be appreciated in a continuous thread of compositional ingenuity.

อัลบั้มเชิดใน (Cherd Nai Album)

บทเพลงเทิดพระเกียรติ “เชิดใน” หรือ “The Prelude of Siam” ได้รับการบันทึกเสียงโดยจัดทำเป็น CD เมื่อเดือน มิถุนายน 2547 ร่วมกับเพลงอื่นๆ ที่รวบรวมจากละครเรื่องต่างๆ ที่ ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์ไว้ การบันทึกเสียงกระทำที่เมือง RIGA ประเทศ LATVIA บรรเลงโดยนักดนตรีชาวลัตเวีย ด้วยวง The Latvian National Symphony Orchestra และ Mr.Terje Mikkelsen ชาวนอร์เวย์ เป็นวาทยกร

ผู้อำนวยเพลง : Terje Mikkelsen
วงดุริยางค์ : The Latvian National Symphony Orchestra
ผู้บันทึกเสียงและผสมเสียง : Karlis Pinnis และ Vilnis Kaksis
ผู้ขับร้อง: ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ
สถานที่บันทึกเสียง : Riga Recording Studio, เมืองริก้า ประเทศลัตเวีย
ผู้อำนวยการผลิต : ดร.กุลธร ศิลปบรรเลง บุตรของประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และหลานของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
ผู้ประสานงาน : อรปรียา ศิลปบรรเลง และยศธร ศิลปบรรเลง
ผู้มีส่วนร่วม : ลัดดา ศิลปบรรเลง, ยาหยีศรีเฉลิม ศิลปบรรเลง, วัลย์ลดา หงส์ทอง, มธุสร วิสุทธกุล, อัปสร กูรมะโรหิต, ไกวัล กุลวัฒโนทัย, ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ, Bjorn and Hazel Henriksen

This recording took place in June 2004 at the Riga Recording studio, Riga, Latvia.

The Latvian National Symphony Orchestra conducted by Terje Mikkelsen
Vocalist Jairat Pitakchroen.
Recorded and engineered by Kalis Pinnis, Vilnis Kaksis
Excutive Producer: Dr.Kulthorn Silapabanleng (Son of Prasidh Silapabanlenf and Grandson of Luang Praditpairoh)
Coordiantors: Orpriya Silapabanleng, Yosathorn Silapabanleng
Thanks to: Ladda Silapabanleng, Yahysrichalerm Silapabanleng, Valyalada Hongstong, Mathurose Visuthakul, Apsorn Kurmarohita, Kaiwal Kulwathanothai, Jairat Pitakchroen, Bjorn and Hazel Henrikson

เพลง เชิดใน (Cherd Nai : The Prelude of Siam)

ผู้ประพันธ์ (จากทำนองเพลงไทยเดิม) : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง
ผู้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงซิมโฟนี : Mr. John Georgiadis

ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา ผู้ประพันธ์มีความปรารถนาที่จะประพันธ์เพลงเทิดพระเกียรติ จึงได้คัดทำนองเพลงไทยเดิม ชื่อ "เชิดใน" ซึ่งประพันธ์โดยบิดา คือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มาเป็นโครงสร้างของบทประพันธ์ เพราะมีความเหมาะสมที่จะใช้บรรเลงในลักษณะเพลงโหมโรง (Overture)

เพลง "เชิดใน" ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่นักดนตรีไทยเดิมเหมือนกับเพลง "เชิดนอก" ที่เล่นกันแพร่หลายและเป็นเพลงเอกในภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" แต่ก็เป็นเพลงบรรเลงที่มีความเร็วและเหมาะสมกับการที่จะใช้เป็นเพลงโหมโรง อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้ประพันธ์เป็น Piano Conductor Score เสร็จ แต่ไม่สามารถเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงซิมโฟนีให้เสร็จได้ เพราะความเจ็บป่วยในช่วงสุดท้ายของชีวิต จึงได้มอบให้ Mr. John Georgiadis เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานแทน เพราะเป็นผู้มีความคุ้นเคยกับบทประพันธ์อื่นๆ ของท่านมาก่อนแล้ว

"เชิดใน" ได้รับการประพันธ์ และเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงซิมโฟนีขนาดใหญ่ เป็นบทเพลงที่มีความสง่างาม และจบด้วยท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นเพลงไทยอย่างชัดเจน

"เชิดใน" ได้รับการบันทึกเสียงครั้งแรกพร้อมกับเพลงอื่นๆ ของ อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ที่เมืองริก้า ประเทศลัตเวีย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 บรรเลงโดยวงดนตรี The Latvian National Symphony Orchestra ใช้นักดนตรีรวมทั้งสิ้น 70 คน และ Mr. Terje Mikkelsen ชาวนอร์เวย์ เป็นวาทยกร


Cherd Nai : The Prelude of Siam
Composed by Prasidh Silapabanleng
Arranged and Orchestrated by John Georgiadis

In this work the composer has re-composed the original theme of “Cherd Nai” created by his father Luang Praditpairoh (Sorn Silapabanleng) as a Western style Overture. The piano-conductor score and was completed when the composer was 87 and in poor health. Hence, the score and suggestions for arrangement were forwarded to Mr.John Georgiadis, conductor of the composer’s famed “Siang Tian with female chorus”, in the U.K. to enlarge and orchestrate the piece for performance by a medium-sized symphony orchestra.

“Cherd Nai: The Prelude of Siam” was first recorded in Riga, Latvia on June 2004, with the Norwegian conductor Terje Mikkelsen conducting the Latvian National Symphony Orchestra. The “Cherd Nai” has been orchestrated in the grand symphonic orchestral style with distinctive melodies of traditional Thai themes in the opening and grand finale.

ไซมีสโรม้านซ์ (Siamese Romances) เพลง จันทราพาฝัน

ผู้ประพันธ์ : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง
ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และ อัปสร กูรมะโรหิต

ไซมีสโรม้านซ์ได้ประพันธ์ขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยอัสสัสชัญ และสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชร่วมกันจัดการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ บทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีขนาดกลางชิ้นนี้ได้เรียบเรียงมาจากเพลงรัอง และเพลงบรรเลงสำหรับละครเรื่องต่างๆ ที่แสดงโดยคณะผกาวลี เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๓ โดย ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และลูกศิษย์ คือ อัปสร กูรมะโรหิต ได้ร่วมกันจัดทำเป็นบทประพันธ์ในลักษณะเพลงประสม (Medley) รวม ๕ กระบวนด้วยกัน โดยนำมาจากบทเพลงในละครเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • กระบวนที่ ๑ จันทราพาฝัน (๓.๐๙ นาที) จากภาพยนตร์เรื่อง ไฟชีวิต (บทภาพยนตร์ของ สด กูรมะโรหิต)
  • กระบวนที่ ๒ โลมเหนือ (๓.๕๖ นาที) เรียบเรียงเสียงประสานจากทำนองเพลงไทยเดิมของท่านบิดา คือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
  • กระบวนที่ ๓ งามเพียงจันทร์ (๓.๐๐ นาที) จากละครเรื่อง ธิดาจ้าวราชบุตร (บทละครของ อบ ไชยวสุ) โดยนำส่วนหนึ่งของทำนองเพลงที่แต่งโดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ชื่อ "เพลงโลมพม่า” มาเรียบเรียงเสียงประสาน ปรับปรุงเป็นเพลงบรรเลงสำหรับวงดุริยางค์ในจังหวะวอลซ์
  • กระบวนที่ ๔ รักแท้ (๓.๓๙ นาที) จากละครเรื่อง เงาะป่า (พระราชนิพนธ์อัญเชิญมาทำบทละครเวที โดย สด กูรมะโรหิต)
  • กระบวนที่ ๕ แรพโซดี (Rhapsody) (๕.๑๓ นาที) จากการผสมผสานของ ๒ บทเพลง คือ "เพลงดวงใจ" จากละครเรื่อง เกียรติศักดิ์รักของข้า (บทละครของมาลัย ชูพินิจ) และ "เพลงยามรัก" จากละครเรื่อง ซิสก้า (บทละครของ สด กูรมะโรหิต)

Siamese Romance: Dramatic Suite for Orchestra
Composed by Prasidh Silapabanleng
Arranged and Orchestrated by Prasidh Silapabanleng and Apsorn Kurmarohita

The composer and his last student, Apsorn, completed this orchestration in the form of a suite for orchestra in October 1998. It is comprised of 5 short movements, which have been taken from Prasidh’s small compositions for theatrical plays, namely

  • 1st movement: Chandra pa Fun
  • 2nd movement: Lome nua
  • 3rd movement: Ngarm Pieng Chand
  • 4th movement: Ruk Tae
  • 5th movement: Rhapsody

ไซมีสโรม้านซ์ (Siamese Romances) เพลง โลมเหนือ

ผู้ประพันธ์ : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง
ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และ อัปสร กูรมะโรหิต

ไซมีสโรม้านซ์ได้ประพันธ์ขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยอัสสัสชัญ และสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชร่วมกันจัดการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ บทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีขนาดกลางชิ้นนี้ได้เรียบเรียงมาจากเพลงรัอง และเพลงบรรเลงสำหรับละครเรื่องต่างๆ ที่แสดงโดยคณะผกาวลี เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๓ โดย ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และลูกศิษย์ คือ อัปสร กูรมะโรหิต ได้ร่วมกันจัดทำเป็นบทประพันธ์ในลักษณะเพลงประสม (Medley) รวม ๕ กระบวนด้วยกัน โดยนำมาจากบทเพลงในละครเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • กระบวนที่ ๑ จันทราพาฝัน (๓.๐๙ นาที) จากภาพยนตร์เรื่อง ไฟชีวิต (บทภาพยนตร์ของ สด กูรมะโรหิต)
  • กระบวนที่ ๒ โลมเหนือ (๓.๕๖ นาที) เรียบเรียงเสียงประสานจากทำนองเพลงไทยเดิมของท่านบิดา คือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
  • กระบวนที่ ๓ งามเพียงจันทร์ (๓.๐๐ นาที) จากละครเรื่อง ธิดาจ้าวราชบุตร (บทละครของ อบ ไชยวสุ) โดยนำส่วนหนึ่งของทำนองเพลงที่แต่งโดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ชื่อ "เพลงโลมพม่า” มาเรียบเรียงเสียงประสาน ปรับปรุงเป็นเพลงบรรเลงสำหรับวงดุริยางค์ในจังหวะวอลซ์
  • กระบวนที่ ๔ รักแท้ (๓.๓๙ นาที) จากละครเรื่อง เงาะป่า (พระราชนิพนธ์อัญเชิญมาทำบทละครเวที โดย สด กูรมะโรหิต)
  • กระบวนที่ ๕ แรพโซดี (Rhapsody) (๕.๑๓ นาที) จากการผสมผสานของ ๒ บทเพลง คือ "เพลงดวงใจ" จากละครเรื่อง เกียรติศักดิ์รักของข้า (บทละครของมาลัย ชูพินิจ) และ "เพลงยามรัก" จากละครเรื่อง ซิสก้า (บทละครของ สด กูรมะโรหิต)

Siamese Romance: Dramatic Suite for Orchestra
Composed by Prasidh Silapabanleng
Arranged and Orchestrated by Prasidh Silapabanleng and Apsorn Kurmarohita

The composer and his last student, Apsorn, completed this orchestration in the form of a suite for orchestra in October 1998. It is comprised of 5 short movements, which have been taken from Prasidh’s small compositions for theatrical plays, namely

  • 1st movement: Chandra pa Fun
  • 2nd movement: Lome nua
  • 3rd movement: Ngarm Pieng Chand
  • 4th movement: Ruk Tae
  • 5th movement: Rhapsody

ไซมีสโรม้านซ์ (Siamese Romances) เพลง งามเพียงจันทร์

ผู้ประพันธ์ : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง
ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และ อัปสร กูรมะโรหิต

ไซมีสโรม้านซ์ได้ประพันธ์ขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยอัสสัสชัญ และสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชร่วมกันจัดการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ บทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีขนาดกลางชิ้นนี้ได้เรียบเรียงมาจากเพลงรัอง และเพลงบรรเลงสำหรับละครเรื่องต่างๆ ที่แสดงโดยคณะผกาวลี เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๓ โดย ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และลูกศิษย์ คือ อัปสร กูรมะโรหิต ได้ร่วมกันจัดทำเป็นบทประพันธ์ในลักษณะเพลงประสม (Medley) รวม ๕ กระบวนด้วยกัน โดยนำมาจากบทเพลงในละครเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • กระบวนที่ ๑ จันทราพาฝัน (๓.๐๙ นาที) จากภาพยนตร์เรื่อง ไฟชีวิต (บทภาพยนตร์ของ สด กูรมะโรหิต)
  • กระบวนที่ ๒ โลมเหนือ (๓.๕๖ นาที) เรียบเรียงเสียงประสานจากทำนองเพลงไทยเดิมของท่านบิดา คือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
  • กระบวนที่ ๓ งามเพียงจันทร์ (๓.๐๐ นาที) จากละครเรื่อง ธิดาจ้าวราชบุตร (บทละครของ อบ ไชยวสุ) โดยนำส่วนหนึ่งของทำนองเพลงที่แต่งโดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ชื่อ "เพลงโลมพม่า” มาเรียบเรียงเสียงประสาน ปรับปรุงเป็นเพลงบรรเลงสำหรับวงดุริยางค์ในจังหวะวอลซ์
  • กระบวนที่ ๔ รักแท้ (๓.๓๙ นาที) จากละครเรื่อง เงาะป่า (พระราชนิพนธ์อัญเชิญมาทำบทละครเวที โดย สด กูรมะโรหิต)
  • กระบวนที่ ๕ แรพโซดี (Rhapsody) (๕.๑๓ นาที) จากการผสมผสานของ ๒ บทเพลง คือ "เพลงดวงใจ" จากละครเรื่อง เกียรติศักดิ์รักของข้า (บทละครของมาลัย ชูพินิจ) และ "เพลงยามรัก" จากละครเรื่อง ซิสก้า (บทละครของ สด กูรมะโรหิต)

Siamese Romance: Dramatic Suite for Orchestra
Composed by Prasidh Silapabanleng
Arranged and Orchestrated by Prasidh Silapabanleng and Apsorn Kurmarohita

The composer and his last student, Apsorn, completed this orchestration in the form of a suite for orchestra in October 1998. It is comprised of 5 short movements, which have been taken from Prasidh’s small compositions for theatrical plays, namely

  • 1st movement: Chandra pa Fun
  • 2nd movement: Lome nua
  • 3rd movement: Ngarm Pieng Chand
  • 4th movement: Ruk Tae
  • 5th movement: Rhapsody

ไซมีสโรม้านซ์ (Siamese Romances) เพลง รักแท้

ผู้ประพันธ์ : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง
ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน : ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และ อัปสร กูรมะโรหิต

ไซมีสโรม้านซ์ได้ประพันธ์ขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยอัสสัสชัญ และสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชร่วมกันจัดการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ บทประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีขนาดกลางชิ้นนี้ได้เรียบเรียงมาจากเพลงรัอง และเพลงบรรเลงสำหรับละครเรื่องต่างๆ ที่แสดงโดยคณะผกาวลี เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๓ โดย ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และลูกศิษย์ คือ อัปสร กูรมะโรหิต ได้ร่วมกันจัดทำเป็นบทประพันธ์ในลักษณะเพลงประสม (Medley) รวม ๕ กระบวนด้วยกัน โดยนำมาจากบทเพลงในละครเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • กระบวนที่ ๑ จันทราพาฝัน (๓.๐๙ นาที) จากภาพยนตร์เรื่อง ไฟชีวิต (บทภาพยนตร์ของ สด กูรมะโรหิต)
  • กระบวนที่ ๒ โลมเหนือ (๓.๕๖ นาที) เรียบเรียงเสียงประสานจากทำนองเพลงไทยเดิมของท่านบิดา คือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
  • กระบวนที่ ๓ งามเพียงจันทร์ (๓.๐๐ นาที) จากละครเรื่อง ธิดาจ้าวราชบุตร (บทละครของ อบ ไชยวสุ) โดยนำส่วนหนึ่งของทำนองเพลงที่แต่งโดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ชื่อ "เพลงโลมพม่า” มาเรียบเรียงเสียงประสาน ปรับปรุงเป็นเพลงบรรเลงสำหรับวงดุริยางค์ในจังหวะวอลซ์
  • กระบวนที่ ๔ รักแท้ (๓.๓๙ นาที) จากละครเรื่อง เงาะป่า (พระราชนิพนธ์อัญเชิญมาทำบทละครเวที โดย สด กูรมะโรหิต)
  • กระบวนที่ ๕ แรพโซดี (Rhapsody) (๕.๑๓ นาที) จากการผสมผสานของ ๒ บทเพลง คือ "เพลงดวงใจ" จากละครเรื่อง เกียรติศักดิ์รักของข้า (บทละครของมาลัย ชูพินิจ) และ "เพลงยามรัก" จากละครเรื่อง ซิสก้า (บทละครของ สด กูรมะโรหิต)

Siamese Romance: Dramatic Suite for Orchestra
Composed by Prasidh Silapabanleng
Arranged and Orchestrated by Prasidh Silapabanleng and Apsorn Kurmarohita

The composer and his last student, Apsorn, completed this orchestration in the form of a suite for orchestra in October 1998. It is comprised of 5 short movements, which have been taken from Prasidh’s small compositions for theatrical plays, namely

  • 1st movement: Chandra pa Fun
  • 2nd movement: Lome nua
  • 3rd movement: Ngarm Pieng Chand
  • 4th movement: Ruk Tae
  • 5th movement: Rhapsody
Results 1 to 20 of 687